บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
ว้นจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
เรียนเรื่อง โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการ
การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการ แม่สอนลูก
-
ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
-
จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
-
ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
-ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม
มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
-
เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
โครงการ
แม่สอนลูก
ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจ.อุบลราชธานี เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรแกรม Hippy
Program ของประเทศอิสราเอลเน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียนแม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น
ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก โครงการ
พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า
3 ปี
ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่
ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
โครงการ
พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
-เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง
ประกอบด้วย
-แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
-คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
-หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
-ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
-จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว
“บ้านล้อมรัก”
ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา
เสพติด ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด”
เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน
เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
-
ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น
สปอตประชาสัมพันธ์
กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์
เสื้อยืด เป็นต้น
-
กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา
เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก
(Bookstart
Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก
เริ่มต้นขึ้นในปี 2546
โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่านส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ
“รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน
โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือสร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัวส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรัก โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท
(book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชนกรมการศึกษานอกโรงเรียนกรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุขและอีกหลายหน่วยงานวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต
มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัวดำเนินงานโดยกองสูตินารีเวชกรรม พร.พระมงกุฎเกล้า
ได้เปิดบริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่ ให้มีความรู้
ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ใช้ชื่อสถานบริการนี้ว่า “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส” ดำเนินงานโดย พ.อ.
นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรสระหว่างตั้งครรภ์ ทำคลอด
และหลังคลอดจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่
โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในต่างประเทศ ยกตัวอย่าง เช่น
โครงการ
การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพดังนั้นจึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน
ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า
ALEH
(Early
Childhood Enrichment Center)
ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง
ดังนี้
- สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์
(ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก
และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะเสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ
-
จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
-
ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น
โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
อาจเรียกโครงการนี้ว่าเป็นการจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้
โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม
เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี
ซึ่งกิจกรรมที่สอนพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก
ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม
สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ
รู้จักใช้วัวดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ –อุปกรณ์
และสอนให้รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
จัดขึ้นสำหรับเด็ก
4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง
วัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูก ในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
การจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
-
ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
-
ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
-
เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์
-
ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
-
ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
-
สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
-
ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น
การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
โครงการ
เฮดสตาร์ท
(Head Start)
เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ
3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย
และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น
การบริการเฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย
จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการ
เพลย์เซ็นเตอร์
เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า
พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน
โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ
ปรัชญาในการทำงานคือ “พ่อแม่คือครูคนแรกและเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
โครงการ
บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ
(Bookstart
UK)
โครงการ บุ๊คสตาร์ท
หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต
ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
-หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว
2 เล่ม
-หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
-ของชำร่วยสำหรับเด็ก
เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
-แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
-บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
-รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
-รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
-----------------------------------------------------------------------
คำถามท้ายบท
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วม
กันอย่างไร
บ้าน โรงเรียน ชุมชน และสังคมจากภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก เป็นการส่งเสริม
และพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน
2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผล
สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
การนำความรู้ประสบการณ์ของแต่ละโครงการที่ทดลองแล้วได้ผลตอบรับที่ดีหรือประสบผลสำเร็จ มา
ประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองหรือการทำงานในอนาคต ซึ่งสามารถนำมาใช้กับคนในครอบครัว
ของเราได้ การจะทำให้โครงการประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงจะต้อง ต้องสังเกตว่าเด็กมีความพร้อม
ต่างๆ มีพัฒนาการที่เหมาะสม เมื่อมีการนำโครงการต่างๆ ไปให้ความรู้ผู้ปกครอง แล้วเด็กมีพัฒนาการดี
ขึ้น แสดงว่าโครงการน้ันประสบผลสำเร็จ
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยก
ตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการ
เลี้ยงดูเด็ก
มา
5
เรื่อง พร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
1.สุขอนามัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกายให้สะอาด ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น การดูแลร่างกายอย่างถูกวิธี
2.การพัฒนาการเรียนรู้ ส่งเสริม และสนับสนุนให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เด็กรักการอ่าน เช่น การให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายและให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง
3.การมีส่วนร่วม ผู้ปกครองจะต้องให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน เมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ผู้ปกครองมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการมอบรางวัลเด็กดี
4.การอบรมเลี้ยงดู ให้ความรู้เกี่ยวกับ การอบรม บ่มนิสัยให้กับเด็กในทางที่ถูกต้อง เหมาะสม เช่น เป็นตัวเองให้เด็กดู และสอนให้เด็กรู้ว่า เมื่อทำแล้วจะเป็นที่รักของผู้อื่น
5.การสื่อสาร ให้ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารพูดคุยกับเด็ก มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เปิดอกคุยกับลูก เช่นการพูดคุยกับเด็กขณะทำกิจกรรมว่าเขาทำอะไรอยู่ ชวนพูดคุยเพื่อที่เขาจะได้มีเพื่อน
4.การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
การให้ความร่วมมือของผู้ปกครองสามารถส่งต่อพฤติกรรมเด็กได้ เพราะ ผู้ปกครองเป็นผู้ใกล้ชิดเด็ก
อยู่ร่วมกันกับเด็ก มีการพูดคุยกัน โดยส่วนใหญ่เด็กจึงได้แบบอย่างมาจากผู้ปกครอง ผู้ปกครองจึงมี
ส่วนที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
5.นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร
จงอธิบายการนำไป
ประยุกต์ใช้
สามารถติดตามผลได้จากการสอบถามกับผู้ปกครองโดยตรง หรือจากการจดบันทึกพฤติกรรมต่างๆ ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นหรือไม่ ควรมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไรให้เหมาะสม
การประยุกต์ใช้
นำความรู้ที่ได้จากการให้การศึกษาผู้ปกครองไปใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และยังสามารถนำโครงการต่างๆมาปรับ ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ช่วยกันตอบคำถาม และให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ใจดี เป็นกันเอง อธิบายเนื้อหาสาระเข้าใจง่าย และมีการยกตัวอย่างประกอบการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
****************************************************************
นำความรู้ที่ได้จากการให้การศึกษาผู้ปกครองไปใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และยังสามารถนำโครงการต่างๆมาปรับ ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง ช่วยกันตอบคำถาม และให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ใจดี เป็นกันเอง อธิบายเนื้อหาสาระเข้าใจง่าย และมีการยกตัวอย่างประกอบการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น